ประเพณีที่สำคัญในตำบลแม่สอด
ประเพณีแลอุปั๊ดตะก่า
ความเป็นมา
ประเพณีแห่ “แล้อุปั๊ดตะก่า” หรือ
“แห่ข้าวพระพุทธ” (แล้อุปั๊ดตะก่า ภาษาไทยใหญ่หมายถึง คณะอุบาสกแห่รับข้าวพระพุทธ) เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยใหญ่ที่นับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก
การแห่เป็นพิธีอันศักดิ์สิทธิ์
คนที่เข้าร่วมในขบวนจะต้องเป็นชายที่นุ่งขาวเท่านั้น ห้ามมิให้หญิงเข้าร่วม แต่ก็สามารถเดินร่วมชมตามหลังขบวนได้ การแห่จะเป็นไปอย่างเรียบง่ายตามแบบฉบับที่เคยสืบทอดกันมาแต่ครั้งก่อน
มีสีสันจากขบวนตุงหลากหลายสีเป็นทิวแถว สวยงาม
มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์เก่าแก่ของคนไทยใหญ่ คือการ “รำโต” หรือ การรำสิงโตนั่นเอง
ลักษณะคล้ายกับการเชิดสิงโตของชาวจีน ใช้แสดงเฉพาะในเทศกาลที่ยิ่งใหญ่เท่านั้น ทั้งนี้เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชาวเมือง
โดยบรรพบุรุษชาวไทยใหญ่ถือว่า “โต” เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งในป่าหิมพานต์ที่มีรูปร่างคล้ายจามรี
แต่จะมีขนที่ยาวกว่าและมีเขาคล้ายกวาง ถือเป็นสัตว์นำโชค
และจะนำมาซึ่งความรุ่งเรือง โดยจะรำคู่กับการรำกินรีที่จะมีให้เห็นได้เฉพาะตามถิ่นแถวนี้เท่านั้น
คณะอุปั๊ดตะก่าจะ นุ่งชุดขาวรับศีล 5 จากพระภิกษุสงฆ์ จากนั้นออกรับข้าวสาร ขนม ผลไม้ กล้วยอ้อย หรือพืชผลทางการเกษตรจากชาวบ้านและประชาชนทั่วไป เพื่อนำไปจัดเตรียมและหุงต้มในตอนรุ่งอรุณของเช้าวันพระช่วงเข้าพรรษา โดยขบวนแห่จะเริ่มขึ้นที่วัดแม่ซอดน่าด่าน
ก่อนจะแยกเป็นสามสายตามถนนสายหลักกลาง อ.แม่สอด เพื่อคณะศรัทธาจะได้ร่วมทำบุญกันอย่างทั่วถึง
สำหรับของที่รับมาจะนำขึ้นถวายแด่พระพุทธ
ซึ่งเป็นพระประธานในอุโบสถ วิหารและพระประธานบนกุฏิสงฆ์ แล้วนำข้าวของมาแยกออกให้เป็นประเภทเดียวกัน
เพื่อใช้ตามกิจของวัดในตลอดเทศกาลเข้าพรรษา
ซึ่งการแห่รับข้าวพระพุทธนี้จะมีทุกวันโกนตลอดเทศกาลพรรษา 3 เดือน มี 13 ครั้ง แต่ระหว่างช่วงกลางพรรษา ในวันเพ็ญเดือน 10 จะเป็นพิธีถวายข้าวพระพุทธครั้งใหญ่ประจำปี (ภาษาไทยใหญ่เรียกว่า ต่างซอมต่อหลวง)
ซึ่งการแห่รับข้าวพระพุทธนี้จะมีทุกวันโกนตลอดเทศกาลพรรษา 3 เดือน มี 13 ครั้ง แต่ระหว่างช่วงกลางพรรษา ในวันเพ็ญเดือน 10 จะเป็นพิธีถวายข้าวพระพุทธครั้งใหญ่ประจำปี (ภาษาไทยใหญ่เรียกว่า ต่างซอมต่อหลวง)
ประเพณีนี้ยังมีพิธีกรรมที่สืบทอดกันมาแต่ช้านานและถือเป็นพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์โดยผู้เข้าร่วมในขบวนจะต้องเป็นชายที่นุ่งขาวเท่านั้นห้ามมิให้หญิงเข้าร่วมแต่สามารถเดินร่วมตามหลังขบวนได้การแห่จะเป็นไปอย่างเรียบง่ายมีสีสันจากขบวนตุงที่หลากหลายสีเป็นทิวแถวสวยงามและในปีนี้พิธี “แล้อุ๊ปั๊ดตะก่า” จะจัดขึ้น ณ วัดแม่ซอดหน้าด่าน อำเภอแม่สอด
จังหวัดตากมีศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์อันเก่าแก่ของคนไทยใหญ่คือการ “รำโต” หรือชาวบ้านเรียกว่า “รำกินกะร่า”หรือเรียกว่าการสิงโตนั่นเอง
ประวัติวัดแม่ซอดหน้าด่าน
(วัดเงี้ยวหลวง)
ตำบลแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
วัดแม่ซอดหน้าด่าน ตั้งอยู่เลขที่ 95 ถนนประสาทวิถี ตำบลแม่สอด
อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุในอดีต
โดยมีเหตุผลและหลักฐานบางอย่างที่ปรากฏพอเชื่อถือและยืนยันได้ดังนี้
นับแต่มีการตั้งหมู่บ้านแม่ซอด (แม่สอด)
ส่วนใหญ่เป็นชนเชื้อชาติไทยใหญ่
ซึ่งเดินทางมาจากรัฐฉานเพื่อนำสินค้าไปขายในเมืองไทย
และที่บ้านแม่ซอดนี้เองจึงเป็นปางที่พักของพวกพ่อค้า แต่คนไทยใหญ่นั้นอยู่ที่ไหนที่นั่นต้องมีวัด
จึงได้สร้างวัดขึ้นหนึ่งแห่งห่างจากวัดดอนไชยปัจจุบันไปทางทิศตะวันออกประมาณ
300 เมตร
ปัจจุบันยังคงเหลือซากเจดีย์เก่าอยู่บ้าง
และมีพระจากรัฐฉาน ชื่อพระสุมนะเถระเป็นเจ้าอาวาส
ต่อมาเห็นว่าห่างไกลหมู่บ้านมากจึงยุบวัดนำมาสร้างใหม่ ณ ที่ปัจจุบัน
เพราะว่าที่ปัจจุบันเป็นชุมชนคนไทยใหญ่มีมาก
และพระสุมนะเถระก็ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกจนถึงแก่มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2432 พระอธิการปิ่นหญ่าปัญโญ
เป็นเจ้าอาวาส ได้ตั้งชื่อว่า วัดหลวง
แต่เนื่องจากท่านไก้เดินทางมาจากรัฐฉานด้วยกัน ๒รูป
คือพระอูเมธาและได้สร้างวัดขั้นอีกวัดหนึ่งและให้พระอูเมธาเป็นเจ้าอาวาส เรียกว่า วัดน้อย ( ปัจจุบันคือบริเวณที่ตั้งโรมแรมพรเทพ
)
อุปกรณ์ที่ใช้ในขบวนแหล้อุปั๊ดตะก่า
1.สัมพาระ ( คือ
อุปกรณ์ที่ใช้รับของทำบุญ)
2.บาตร
3.
กุ๊บ(คือหมวกสีขาวที่ชาวไทยใหญ่ประดิษฐ์มาจากใบตองแต่ในปัจจุบันจะทำจากไม่เพื่อความอายุการใช้งานที่ยาวนาน)
4.ระฆัง หรือ กังสดาร
5. พระพุทธรูป
6.ฆ้องเดี่ยว
รถ3ล้อที่ใช้รับของจากอุบาสกเมื่ออุบาสกได้รับของทำบุญจำนวนมาก
พิธีรับศีล๕
โดยผู้ที่มีจิตศรัทธาจะมารับศีลก่อนที่จะออกบิณฑบาตไปตามถนนสายต่างๆรอบอำเภอแม่สอดโดยผู้ที่มารับศีลจะต้องแต่งชุดขาวไม่สวมรองเท้าและจะต้องเป็นชายเท่านั้น
พิธีรับศีลจะมีขึ้นก่อนออกเดินขบวนในเวลา 11.00 แล้วจึงออกบิณฑบาต
เสร็จจากพิธีรับศีล
เมื่อเสร็จจากพิธีรับศีลบนศาลาแล้วคณะอุบาสกก็จะลงมาตั้งขบวนเพื่อเตรียมตัวออกบิณฑบาตตามถนนสายต่างๆรอบตัวเมืองแม่สอด
ตั้งขบวนเพื่อที่จะออกเดินบิณฑบาต
โดยคณะอุบาสกจะตกลงกันว่าใครจะออกเดินตามถนนสายไหนโดยจะแยกกันไปตามถนน
4สายหลักของอำเภอแม่สอดจากนั้นก็จะเดินกลับมารวมกันที่วัดหลวงหรือวัดแม่ซอกน่าด่านเพื่อนำของที่ผู้คนนำมาทำบุญมาคัดแยกประเภทของของที่ได้มาจากผู้มีจิตรศรัทธาในการทำบุญ
ขบวนแลอุปั้ดตะก่า
ขบวน (สาย)
|
จำนวน (คน)
|
เส้นทางการเดินขบวน
|
1
|
19
|
แยกตลาดบ้านเหนือ ไป โรงเรียนมณีไพรสณฑ์ และไปโรวเรียนชุมพลคีรี
|
2
|
20
|
แยกตลาดบ้านเหนือไปวัดอรัญ
|
3
|
22
|
แยกตลาดบ้านเหนือ ไปหน่วยมาลาเรีย
และสายที่ 3 สามารถแบ่งออกเป็น สายย่อย อีกหนึ่งสายคือ สายที่ 4 |
4
|
18
|
หน้าโรงพยาบาล ไป หมู่บ้านถุงทอง
|
เชื้อชาติของคนที่ร่วมเดินขบวนแล้อุปั๊ดตะก่า
จำนวน
(สาย)
|
เชื้อชาติ
|
|||
ไทย
(คน)
|
พม่า
(คน)
|
ไทยใหญ่
(คน)
|
กะเหรี่ยง
(คน)
|
|
1
|
2
|
6
|
8
|
3
|
2
|
3
|
7
|
9
|
2
|
3
|
3
|
7
|
8
|
4
|
4
|
2
|
8
|
6
|
2
|
ผู้ถือพระนำหน้าขบวน
ผู้ที่อุ้มพระนำหน้าขบวนจะต้องเป็นผู้ที่อาวุโสที่สุดในวัดและเราสามารถใส่เงินในการทำบุญได้ที่ผู้อาวุโสที่อุ้มพระ
กังสดาล
กังสดาลและฆ้องเดี่ยวจะใช้ตีเพื่อให้เกิดเสียงทำให้ผู้ที่อยู่บริเวณนั้นหรือผู้ที่มีจิตศรัทธาที่จะทำบุญรู้ว่าคณะอุปั๊ดตะก่าได้มาถึงบริเวณนั้นแล้ว
ฆ้องเดี่ยว
กังสดาลและฆ้องเดี่ยวจะใช้ตีเพื่อให้เกิดเสียงทำให้ผู้ที่อยู่บริเวณนั้นหรือผู้ที่มีจิตศรัทธาที่จะทำบุญรู้ว่าคณะอุปั๊ดตะก่าได้มาถึงบริเวณนั้นแล้ว
สัมภาระใส่ผลไม้และดอกไม้
ผู้คนที่มาทำบุญและนำดอกไม้และผลไม้มาทำบุญจะต้องนำผลไม้และดอกไม้มาใส่ที่นี่เพราะจะทำให้สะดวกต่อการคัดแยกประเภทของของที่มาทำบุญ
จานไว้ใส่ของแห้ง
โดยผู้ที่มาทำบุญจะนำของแห้งใส่ที่นี่ของแห้งที่พูดถึงคือขนมหวาน
เป็นต้นหรือจะเป็นของแห้งอย่างอื่นก็ได้ตามที่ผู้มาทำบุญนำมา
ถังไว้สำหรับใส่ข้าวสาร
ผู้ที่นำข้าวสารมาทำบุญก็จะนำข้าวสารมาใส่ในนี้และควรใส่แต่ข้าวสารเพื่ออำนวยความสะดวงในการแยกประเภทของ
กลับจากการเดินขบวนและนำของที่ได้มาไว้ที่ศาลาหอฉัน
เมื่อคณะอุบาสกเสร็จจากการเดินขบวนแล้วก็จะนำสิ่งของที่ได้มาไว้ที่ศาลาหอฉันจากนั้นกลุ่มผู้มีจิตรศรัทธาก็จะมาช่วยกันแยกประเภทของที่ได้มาจากผู้ที่มาทำบุญ
คณะอุบาสิกาหรือผู้ที่มีจิตศรัทธามาร่วมกันคัดแยกประเภทของ
ของที่ได้มา
เมื่อคณะอุบาสกนำของที่ได้มาผู้สูงอายุและผู้ที่มีจิตศรัทธาจะมาช่วยกันคัดแยกประเภทของของทำบุญ
คือ จะแยกประเภทของ ผลไม้ ข้าวสาร ดอกไม้ และ เงิน
คณะอุบาสิกาหรือผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันคัดแยกข้าวสาร(ข้าวไทยกับข้าวแบบพม่า)และแกะข้าวสารออกจากถุงเพื่อนำไปประกอบอาหาร
โดยการคัดแยกข้าวจะคัดแยกข้าวไทยกับข้าวพม่าเพราะข้าวไทยกับข้าวพม่ามีความแตกต่างกันคือข้าวไทยจะมีลักษณะเมล็ดเล็กแต่ข้าวของพม่าจะมีลักษณะเม็ดใหญ่ซึ่งเมื่อหุงแล้วจะมีความเหนียวมากกว่าข้าวไทย
เหรัญญิกนับเงินที่ได้จากผู้มีจิตศรัทธาที่มาทำบุญ
ผู้ที่รับหน้าที่เหรัญญิกจะนับเงินทุกบาททุกสตางค์แล้วนำเงินทั้งหมดนั้นมาใช้จ่ายภายในวัดเช่น
นำมาจ่ายค่าซ่อมแซมวัด และ นำมาพัฒนาวัด
เป็นต้น
คณะอุบาสกรับประทานอาหารที่ได้จากผู้ที่มีจิตศรัทธาที่มาทำบุญ
หลังจากการเดินขบวนกันมาเหนื่อยๆแล้วคณะอุบาสกก็จะรับประทานอาหารที่ได้มากันจนอิ่ม
คณะอุบาสกแยกย้ายกันกลับบ้านของตนหลังรับประทานอาหาร......
เส้นทางที่เดินขบวนมี
4 เส้นทางได้แก่
1.ถนนอินทรคีรี
2.ถนนบ้านทุ่ง
3.ถนนประสาทวิถี
4.ถนนศรีพาณิช
ผู้ให้คำสัมภาษณ์
โดยทุกๆวันโกนจะมีคณะอุบาสกหรือคณะอุปั๊ดตะก่าซึ่งเป็นผู้มีจิตศรัทธานุ่งชุดขาวรับศีล๕ไม่สวมรองเท้า
พร้องเครื่องหาบหามออกรับ ข้าวสาร ผลไม้ หรือ
พืชพันธุ์ธัญญาหาญของเกษตรกรและชาวบ้านทั่วไป
คณะอุบาสิกาที่รับของอยู่ที่ศาลาวัดก็จะจัดแบ่งแยกของเป็นสัดส่วนและจัดเตรียมให้วสยงามหรือหุงต้มเพื่อถวายพระพุทธในตอนเช้าของวันพระ การแห่รับข้าวพระพุทธจะมีทุกวันโกนตลอดเทศกาลพรรษา ๓ เดือน
รวม ๑๓ครั้ง เมื่อหมดช่วงเข้าพรรษาแล้วก็จะงดการแห่ทันที
ผู้ให้คำสัมภาษณ์
: นาย ปาน
มนติ๊บ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น